วันพุธที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2552


เดินทางด้วยความปลอดภัย
ไม่ประมาทในการขับขี่และเมาไม่ขับนะค่ะ
ด้วยความห่วงใย
เด็กหญิง กมลมาศ ดาวคะนอง

สวัสดีปีใหม่
ขอให้ทุกๆคนมีความสุขมากๆ
สุขภาพร่างกายแข็งแรง
จาก เก็กหญิงกมลมาศ ดาวคะนอง

วันเสาร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2552

เรื่อง โมเมนต์ของแรง

แรง (force) คือ อำนาจอย่างหนึ่งซึ่งสามารถทำให้หรือพยายามทำให้วัตถุเปลี่ยนภาวะจากการหยุดนิ่ง
เป็นการเคลื่อนที่ หรือภาวะจากการเคลื่อนที่เป็นการหยุดนิ่ง

หน่วยของแรง แรงมีหน่วยเป็นนิวตัน (N)

ผลของแรง

1. แรงทำให้วัตถุเคลื่อนที่ตามแนวแรง เกิดเป็นงาน
2. แรงทำให้วัตถุหมุนรอบจุดๆ หนึ่ง เกิดเป็นโมเมนต์

โมเมนต์ (moment) หมายถึง ผลคูณของแรงกับระยะทางตั้งฉากจากจุดหมุนไปยังแนวแรง หรือ

โมเมนต์ = แรง x ระยะทางตั้งฉากจากจุดหมุนไปยังแนวแรงหน่วยของโมเมนต์ โมเมนต์มีหน่วยเป็น นิวตันเมตร

โมเมนต์มี 2 ชนิด คือ
1. โมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา
2. โมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา

กฏของโมเมนต์

เมื่อวัตถุชิ้นหนึ่งถูกกระทำด้วยแรงหลายแรง แล้ววัตถุนั้นอยู่ในภาวะสมดุลจะได้ว่า

ผลรวมของโมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา = ผลรวมของโมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา
แรงเสียดทาน

แรงเสียดทาน หมายถึง แรงที่ใช้ต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุ

กำหนดให้วัตถุมวล m มีน้ำหนัก mg วางอยู่บนพื้นราบ ดังรูป
โดย N คือ แรงปฏิกิริยาของพื้นที่กระทำต่อวัตถุ

mg คือ น้ำหนักของวัตถุที่กระทำต่อพื้น (กดลงพื้น)

เราสามารถพิจารณาผลที่เกิดขึ้นกับวัตถุได้ในหลายๆ กรณี ดังต่อไปนี้

1.เมื่อวัตถุอยู่นิ่ง ไม่มีแรงภายนอกมากระทำให้วัตถุเคลื่อนที่ แรงเสียดทานจะมีค่าเท่ากับศูนย์
2.เมื่อมีแรงภายนอกมากระทำ มีผลให้วัตถุเคลื่อนที่ไปทางซ้าย แรงเสียดทานจะมีทิศทางไปทางขวา คือมีทิศตรงกันข้ามกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ และกระทำต่อผิวล่างของวัตถุที่สัมผัสกับพื้น ดังรูปโดย F แทน แรงที่ใช้ดึงให้วัตถุเคลื่อนที่f แทน แรงเสียดทานถ้าวัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสม่ำเสมอจะได้ว่า F = f นั่นคือ แรงภายนอกที่กระทำให้วัตถุเคลื่อนที่จะมีค่าเท่ากับแรงเสียดทาน
3.เมื่อมีแรงกระทำกับวัตถุเดิมแต่มีทิศที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่ไปทางขวา แรงเสียดทานจะมีทิศทางไปทางซ้ายคอยต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุ โดย F แทน แรงที่ใช้ดึงให้วัตถุเคลื่อนที่

f แทน แรงเสียดทาน

ประเภทของแรงเสียดทาน

แรงเสียดทานแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1.แรงเสียดทานสถิต (Static Friction) เป็นแรงเสียดทานซึ่งเกิดจากผิววัตถุ 2 ชนิด มาสัมผัสกัน พบว่า แรงเสียดทานที่เกิดจะมีค่าไม่คงที่ จะมีปริมาณเท่ากับแรงที่มากระทำและจะมีค่าสูงสุดเมื่อวัตถุเริ่มเคลื่อนที่
2.แรงเสียดทานจลน์ (Kinetic Friction) เป็นแรงเสียดทานที่เกิดกับผิวของวัตถุทั้ง 2 ชนิด ในขณะที่วัตถุกำลังเคลื่อนที่ เช่น การกลิ้งของวัตถุ การลื่นไถลของวัตถุ และการไหลของวัตถุ เป็นต้น

แรงเสียดทานเนื่องจากการกลิ้งของวัตถุและแรงเสียดทานเนื่องจากการลื่นไถลของวัตถุนั้นขนาดของแรงเสียดทานจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักของวัตถุ ตัวอย่างเช่น เราสามารถดันรถยนต์ที่เข้าเกียร์ว่างไว้ให้เคลื่อนที่ได้ง่ายกว่าการดันรถบรรทุกขนาดใหญ่ เป็นต้น
นอกจากนี้แรงเสียดทานยังขึ้นอยู่กับลักษณะและประเภทของผิวหน้าของพื้นที่วัตถุสัมผัส พื้นผิวหน้าขรุขระจะทำให้เกิดแรงเสียดทานมากกว่าพื้นที่มีผิวหน้าเรียบ
ตัวอย่างเช่น แรงเสียดทานบนพื้นทรายมีค่ามากกว่าแรงเสียดทานบนพื้นคอนกรีตที่เป็นทางวิ่งของสเกตบอร์ด ส่วนแรงเสียดทานจะเกิดขึ้นน้อยมาก เมื่อคนดันกล่องไม้ให้เคลื่อนที่บนพื้นที่มีผิวหน้าเรียบ
แรงเสียดทานเนื่องจากของไหล เช่น น้ำ ลม หรืออากาศ จะเกิดขึ้นเมื่อวัตถุเคลื่อนที่ข้าม ขวาง หรือผ่านเข้าไปในของไหลหรืออากาศ ตัวอย่างเช่น เมื่อเราถีบรถจักรยานปะทะลม หรือว่ายดำน้ำลงไปยังก้นสระหรือในทะเล ในของไหลนี้แรงเสียดทานของวัตถุจะขึ้นอยู่กับขนาด รูปร่าง และความเร็วของวัตถุด้วย

สัมประสิทธิ์ของความเสียดทาน

สัมประสิทธิ์ของความเสียดทาน เป็นอัตราส่วนระหว่างแรงที่กระทำให้วัตถุเคลื่อนที่กับแรงที่กดลงบนพื้นผิวสัมผัส นักวิทยาศาสตร์ใช้อักษรมิว เป็นสัญลักษณ์แทน สัมประสิทธิ์ของความเสียดทาน
โมเมนต์ของแรง

โมเมนต์ของแรง (moment of force) หรือโมเมนต์ (moment) หมายถึง
ผลของแรงที่กระทำต่อวัตถุเพื่อให้วัตถุหมุนไปรอบจุดหมุน ดังนั้น โมเมนต์ของแรง
ก็คือ ผลคูณของแรงกับระยะตั้งฉากจากแนวแรงถึงจุดหมุน ดังสูตร

ทิศทางของโมเมนต์ มี 2 ทิศทาง คือ

1. โมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา
2. โมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา

รูปแสดงทิศทางของโมเมนต์

จากรูป โมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา = WxL2 (นิวตัน-เมตร)
โมเมต์ทวนเข็มนาฬิกา = ExL1 (นิวตัน-เมตร)
ถ้ามีแรงหลายแรงกระทำต่อวัตถุชิ้นหนึ่ง แล้วทำให้วัตถุนั้นอยู่ในสภาวะสมดุลจะได้ว่า
ผลรวมของโมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา = ผลรวมของโมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา

คาน

หลักการของโมเมนต์ เรานำมาใช้กับอุปกรณ์ที่เรียกว่า คาน (lever) หรือคานดีดคานงัด คานเป็นเครื่องกล
ชนิดหนึ่งที่ใช้ดีดงัดวัตถุให้เคลื่อนที่รอบจุดหมด (fulcrum) มีลักษณะเป็นแท่งยาว หลักการทำงานของคาน
ใช้หลักของโมเมนต์

รูปแสดงลักษณะของคาน

ส่วนประกอบของคาน ส่วนประกอบที่สำคัญในการทำงานของคานมี 3 ส่วน คือ
1. จุดหมุนหรือจุดฟัลกรัม (Fulcrum) F
2. แรงความต้านทาน (W) หรือน้ำหนักของวัตถุ
3. แรงความพยายาม (E) หรือแรงที่กระทำต่อคาน

การจำแนกคาน คานจำแนกได้ 3 ประเภทหรือ 3 อันดับดังนี้

1. คานอันดับที่ 1 เป็นคานที่มีจุด (F) อยู่ระหว่างแรงความพยายาม (E) และแรงความต้านทาน (W) เช่น กรรไกรตัดผ้า กรรไกรตัดเล็บ คีมตัดลวด เรือแจว ไม้กระดก เป็นต้นรูปแสดงคานอันดับ 1
2. คานอันดับ 2 เป็นคานที่มีแรงความต้านทาน (W) อยู่ระหว่างแรงความพยายาม (E) และจุดหมุน (F) เช่น ที่เปิดขวดน้ำอัดลม รถเข็นทราย ที่ตัดกระดาษ เป็นต้นรูปแสดงคานอันดับ 2
3. คานดับที่ 3 เป็นคานที่มีแรงความพยายาม (E) อยู่ระหว่างแรงความต้านทาน (W) และจุดหมุน (F) เช่น ตะเกียบ คีมคีบถ่าน แหนบ เป็นต้นรูปแสดงคานอันดับ 3


การผ่อนแรงของคาน จะมีค่ามากหรือน้อยโดยดูจากระยะ E ถึง F และ W ว่าถ้าระยะ EF ยาวหรือสั้นกว่าระยะ WF ถ้าในกรณีที่ยาวกว่าก็จะช่วยผ่อนแรง


สั้นกว่าก็จะไม่ผ่อนแรงหลักการคำนวณเรื่องคาน มีดังนี้
1. ถ้าโจทย์ไม่บอกน้ำหนักของคานมาให้ เราไม่ต้องคิดน้ำหนักของคาน ถือว่าคานนั้นเบามาก
2. ในการคำนวณให้ถือว่า คานมีขนาดสม่ำเสมอกันตลอด
3. ถ้าโจทย์บอกน้ำหนักคานมาให้ต้องคิดน้ำหนักคานด้วย โดยถือว่าน้ำหนักของคานจะอยู่จุดกึ่งกลางคานเสมอ
4. เมื่อคานอยู่ในสภาวะสมดุล โมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกาเท่ากับโมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา
5. โมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา หรือโมเมนต์ตามเข็มนาฬิกามีค่าเท่ากับ ผลบวกของโมเมนต์ย่อยแต่ละชนิด
6. เมื่อมีแรงมากระทำที่จุดหมุน ค่าของโมเมนต์มีค่าเท่ากับศูนย์เพราะระยะทางเป็นศูนย์ ดังนี้

โมเมนต์ = แรง x ระยะทางตั้งฉากจากจุดหมุนถึงแนวแรง= แรง x 0โมเมนต์ = 0

หลักการคำนวณเรื่องโมเมนต์ เช่น

ตัวอย่างที่ 1 คานอันหนึ่งเบามากมีน้ำหนัก 30 นิวตันแขวนที่ปลายคานข้างหนึ่ง และอยู่ห่างจุดหมุน 2 เมตร จงหาว่าจะต้องแขวนน้ำหนัก 15 นิวตัน ทางด้านตรงกันข้ามที่ใดคานจึงจะสมดุล

วิธีทำ สมมุติให้แขวนน้ำหนัก 15 นิวตัน ห่างจากจุดหมุน x เมตร คิดโมเมนต์ที่จุด F

ต้องแขวนน้ำหนัก 15 นิวตัน ห่างจากจุดหมุน 4 เมตร ตอบ

ตัวอย่างที่ 2 คานยาว 10 เมตรงัดวัตถุหนัก 100 นิวตัน โดยวางให้จุดหมุนอยู่ห่างจากวัตถุ 1 เมตร จงหาว่า จะต้องออกแรงที่ปลายคานอีกข้างหนึ่งเท่าไร

วิธีทำ คิดโมเมนต์ที่จุด F

ต้องออกแรงพยายาม = 11.11 นิวตัน ตอบ

วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2552















ขอพระองค์ทรงพระเจริญ

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า
เด็กหญิงกมลมาศ ดาวคะนอง

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1
โรงเรียนเมืองเชลียง จ.สุโขทัย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต
2
ใบความรู้ที่ 35

เรื่อง แรงดึงดูดของโลก

แรงดึงดูดของโลก

แรงดึงดูดของโลกเป็นแรงที่เกิดจากโลกออกแรงดึงดูดวัตถุต่างๆ ให้ไปยังจุดศูนย์กลางของโลก โดยแรงนี้จะกระทำต่อวัตถุต่างๆ อยู่ตลอดเวลา

น้ำหนัก


วัตถุต่างๆ ที่อยู่บนโลกมีน้ำหนัก ที่กล่าวว่ามีน้ำหนักนั้นเนื่องจาก แรงดึงดูดของโลกดึงดูดวัตถุให้ตกลงมายังพื้นโลก เมื่อกล่าวถึงน้ำหนักก็จะต้องกล่าวถึงมวลด้วย มวลและน้ำหนักไม่ใช่สิ่งเดียวกัน


มวล คือ ปริมาณของสารในวัตถุ
น้ำหนัก คือ แรงเนื่องจากแรงดึงดูดของโลกที่กระทำต่อวัตถุ


ถาให m1 เปนมวลของวัตถุ
m2 เปนมวลของโลก
R เปนระยะหางจากจุดศูนยกลางโลกถึงวัตถุ
F เปนแรงดึงดูดระหวางมวลของโลกและวัตถุ

จะไดวา F  m1
F  m2
F 
F 
หรือจะไดวา
F =
G คือ คาคงตัวความโนมถวงสากล มีคา 6.67 × 10-11 Nm2/ kg2

นํ้ าหนักของวัตถุชิ้นหนึ่งๆ เมื่อชั่งในบริเวณตางกันจะมีคาตางกัน โดยนํ้ าหนั กของมวล
1 กิโลกรัมที่บริเวณเสนศูนยสูตรมีคาประมาณ 9.78 นิวตัน ในขณะที่นํ้ าหนักของมวล 1 กิโลกรัม
ที่บริเวณขั้วโลกมีคาประมาณ 9.83 นิวตัน

ถ้าวัตถุมีมวลมากแล้ว โลกก็จะต้องออกแรงดึงดูดวัตถุนั้นมากด้วย วัตถุที่มีขนาดใหญ่นั้นก็จะมีน้ำหนักมากตามไปด้วย ในทำนองเดียวกันถ้าวัตถุนั้นมีมวลน้อย โลกก็จะออกแรงดึงดูดวัตถุนั้นน้อย วัตถุที่มีขนาดเบา ก็จะมีน้ำหนักน้อยเช่นกัน
น้ำหนัก คือแรงเนื่องจากแรงดึงดูดของโลกกระทำต่อวัตถุ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราแขวนแอบเปิ้ลที่ตะขอของเครื่องชั่งสปริงแบบแขวน น้ำหนักของแอปเปิ้ลจะกรทำต่อสปริง แรงที่เกิดจากน้ำหนักของผลแอบเปิลจะกรทำต่อสปริงทำให้สปริงเปลี่ยนรูปร่างและขนาดได้

มนุษย์รู้จักธรรมชาติของแรงโน้มถ่วงของโลกมาเป็นเวลานานแล้ว และได้พัฒนาเครื่องมือ เครื่องใช้ ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่จะใช้ประโยชน์จากแรงโน้มถ่วง เช่น การใช้สามเกอตอกเสาเข็มซึ่งต่อมาได้พัฒนามาเป็นปั้นจั่น การใช้ประโยชน์จากการไหลของน้ำจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำไปหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า การเล่นไม้ลื่นหรือกระดานลื่นก็อาศัยน้ำหนักตัวเรา ทำให้เคลื่อนที่ลงมาตามไม้ลื่นได้
การพัฒนารูปร่างของยานพาหนะก็ต้องคำนึงถึงน้ำหนักของยานพาหนะและน้ำหนักของสัมภาระที่จะบรรทุกด้วย เพราะถ้าบรรทุกน้ำหนักมาก พลังงานที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของยานพาหนะก็จะสิ้นเปลืองมากด้วย การยกของและการเดินขึ้นสู่ที่สูงต้องออกแรงเพื่อเอาชนะแรงโน้มถ่วงของโลก จึงมีการพัฒนาเครื่องมือและอุปกรณ์ช่วยผ่อนแรง หรืออำนวยความสะดวก เช่น รอก ลิฟท์ เพื่อช่วยในการเคลื่อนที่ขึ้นสู่ที่สูงทำได้สะดวกและง่ายขึ้น
คำชี้แจง จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1.ข้อใดต่อไปนี้กล่าวได้ถูกต้อง
ก.แรงดึงดูดของโลกทำให้วัตถุตกสู่พื้นโลกเสมอ
ข.ทุกตำแหน่งบนพื้นโลกมีค่าแรงโน้มถ่วงเท่ากัน
ค.แรงดึงดูดที่โลกกระทำต่อวัตถุขึ้นอยู่กับมวลของวัตถุ
ง. ถูกทั้งข้อ ก และ ค

2.ข้อใดต่อไปนี้กล่าวได้ถูกต้อง
ก.แรงดึงดูดของโลกมีทิศเข้าสู่ศูนย์กลางของโลก
ข.มวลของสารไม่ขึ้นกับเนื้อของสาร
ค.น้ำหนักของวัตถุเท่ากับมวลของวัตถุเสมอ
ง.ถูกทุกข้อ

3.ข้อใดต่อไปนี้กล่าวได้ถูกต้อง
ก.ค่าแรงดึงดูดของโลกมีค่าเท่ากับ 9.8 เมตร/วินาที2
ข. มวล คือ ปริมาณของสารในวัตถุ
ค. น้ำหนัก คือ แรงเนื่องจากแรงดึงดูดของโลกที่กระทำต่อวัตถุ
ง. ถูกทุกข้อ

4.ข้อใดเป็นประโยชน์ของแรงโน้มถ่วง
ก.การใช้ปั่นจั่นตอกเสาเข็ม
ข.การเล่นไม้ลื่นหรือกระดานลื่น
ค.การผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังน้ำ
ง.ถูกทุกข้อ

5.การกระทำข้องมนุษย์ในข้อใดมีวัตถุประสงค์เพื่อเอาชนะแรงโน้มถ่วงของโลก
ก.การสร้างลิฟท์
ข.การสร้างบ้าน
ค.การใช้รถยนต์เพื่ออำนวยความสะดวก
ง.การเดินทางโดยเรือข้ามฟาก

วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2552

พยากรณ์อากาศภายใน 7 วัน


วันนี้19/10






34 °C
25 °C



ฝน

ฝน 40% ของพื้นที่






พรุ่งนี้20/10







33 °C
24 °C

ฝน



ฝน 40% ของพื้นที่





พุธ21/10









33 °C
24 °C



ฝน

ฝน 50% ของพื้นที่



พฤหัสบดี22/10









32 °C
24 °C


ฝนฟ้าคะนอง

ฝน 60% ของพื้นที่

ศุกร์23/10


32 °C
24 °C

ฝน

ฝน 40% ของพื้นที่
เสาร์24/10





33 °C
25 °C

ฝน

ฝน 20% ของพื้นที่

อาทิตย์25/10

33 °C
25 °C

ฝน

ฝน 20% ของพื้นที่
พยากรณ์อากาศ


ตั้งแต่เวลา 17:00 น.วันนี้ - 17:00 น.วันพรุ่งนี้


อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่ส่วนมากบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ ตาก และกำแพงเพชร ลมตะวันออก ความเร็ว 10-25 กม./ชม.
ออกประกาศ 19 ตุลาคม 2552 17:00 น.

อากาศ 7 วันข้างหน้า
19 ต.ค. 52 - 25 ต.ค. 52

คาดหมาย ในช่วงวันที่ 19-21 ต.ค. ทางตอนบนของภาคมีอากาศเย็น และมีหมอกบางในตอนเช้า ส่วนทางตอนล่างมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 22-24 ต.ค. มีฝนกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ทางด้านตะวันตกของภาค และอุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

ออกประกาศ 19 ตุลาคม 2552
พยากรณ์อากาศประจำวัน

ประจำวันที่ 19 ตุลาคม 2552

ลักษณะอากาศทั่วไปเมื่อเวลา 16:00 น.
หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมทะเลจีนใต้ตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ทำให้ด้านรับลมมรสุมหรือด้านตะวันตกของประเทศไทยและภาคตะวันออกมีฝนตก ชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนักบางแห่ง จึงขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณที่ลาด เชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่าน และพื้นที่ลุ่มบริเวณจังหวัดอุทัยธานี กาญจนบุรี ราชบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ระมัดระวังสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากที่จะเกิดขึ้นได้ ในระยะนี้
พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 17:00 วันนี้ ถึง 17:00 วันพรุ่งนี้.

ภาคเหนือ

อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่ส่วนมากบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ ตาก และกำแพงเพชร ลมตะวันออก ความเร็ว 10-25 กม./ชม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดนครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

ภาคกลาง

มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี กาญจนบุรี และราชบุรี ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ภาคตะวันออก
มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40 ของพื้นที่ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดระนอง ตรัง และสตูล ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2552















รูปแสดงผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นลำดับส่วนของน้ำมันดิบ2. การกลั่นลำดับส่วน ใช้แยกสารละลายที่มีสถานะเป็นของเหลว เนื่องจากองค์ประกอบมีสถานะเหมือนกัน ทำให้จุดเดือดต่างกันไม่มาก ดังนั้นจึงไม่สามารถทำสารให้บริสุทธิ์ด้วยกระบวนการกลั่นธรรมดาได้ เพราะจะได้สารที่กลั่นออกมาไม่บริสุทธิ์อธิบายได้ดังนี้ สารที่ระเหยก่อนยังเป็นไอไม่สมบรูณ์ สารอีกชนิด ก็ระเหยกลายเป็นไอตามมา เมื่อผ่านไปยังเครื่องควบแน่น จะกลั่นตัวได้สารทั้งสองชนิดออกมาจึงเป็นการแยกสารที่ไม่สมบรูณ์ โดยมีหลักการ คือ สามารถแยกสารละลายที่จุดเดือดต่างกันเล็กน้อย และสารที่มีจุดเดือดต่ำจะกลั่นตัวออกมาก่อน เช่น การแยกน้ำออกจากแอลกอฮอล์ (น้ำมีจุดเดือด 100 องศาเซลเซียส แอลกอฮอล์มีจุดเดือด 78.5 องศาเซลเซียส) เมื่อนำสารละลายมากลั่น แอลกอฮอล์จะระเหยกลายเป็นไอก่อน ขณะเดือดนอกจากเกิดไอของแอลกอฮอล์แล้วยังมีไอน้ำระเหยตามมาด้วย เมื่อไอลอยขึ้นสู่คอลัมน์แก้วที่อุณหภูมิต่ำลงเรื่อยๆ ทำให้ไอน้ำควบแน่นกลับสู่ขวดกลั่น ส่วนไอของแอลกอฮอล์จะผ่านไปได้และไปกลั่นตัวที่เครื่องควบแน่น ซึ่งมีความบริสุทธิ์ของแอลกอฮอล์เกือบสมบูรณ์รูปแสดงการกลั่นลำดับส่วนนอกจากนี้ การกลั่นลำดับส่วนยังเป็นการนำสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีคุณค่าในน้ำมันดิบออกมาใช้ประโยชน์ได้ด้วยกระบวนการนี้
เขียนโดย ครูจำเริญ สุวรรณประสิทธิ์ 0 ความคิดเห็น
การตกผลึก














การตกผลึกการตกผลึก คือ การแยกของผสมที่เป็นของแข็งที่มีสมบัติการละลายในตัวทำละลายต่างกันและได้ไม่เท่ากันทุกอุณหภูมิ มีหลักการ คือ เมื่อนำของผสมละลายในตัวทำละลายต้มสารละลายนั้นจนละลายหมด แล้วทิ้งให้อุณหภูมิลดลง สารที่ละลายน้อยกว่าจะอิ่มตัวแล้วตกผลึกแยกออกมาก่อน เช่น น้ำตาลกับเกลือซิลเวอร์ไนเตรตกับโพแทสเซียมไนเตรต การแยกเกลือโซเดียมคลอไรด์ออกจากน้ำทะเลรูปแสดงตัวอย่างผลึกบางชนิดการสกัดด้วยตัวทำละลายการสกัดด้วยตัวทำละลาย คือ การแยกสารโดยอาศัยสมบัติการละลายของสารในตัวทำละลาย ต้องคำนึงถึงตัวทำละลายที่เหมาะสมเพื่อให้ได้สารที่ต้องการในปริมาณมาก มีหลักการดังนี้ - เลือกตัวทำละลายที่เหมาะสมเพื่อสกัดให้ได้สารที่ต้องการออกมามากและต้องมีสิ่งเจือปนติดน้อยที่สุด และไม่ทำปฏิกิริยากับสารที่ต้องการสกัด- กรณีที่ต้องแยกสารผสมที่มีองค์ประกอบปนกันหลายชนิด ต้องเลือกตัวทำละลายที่ละลายสารใดสารหนึ่งได้มากและอีกสารได้น้อยมาก เพื่อให้เจือปนกันน้อยที่สุด- แยกสารที่ไม่ต้องการออกไป โดยกระบวนการแยกสารต่างๆ เช่น การกรอง เป็นต้น- แยกสารที่ต้องการออกจากตัวทำละลายซึ่งวิธีการนี้จะนิยมใช้สกัดสีจากธรรมชาติ สมุนไพร สกัดน้ำมันหอมระเหย เป็นวิธีการที่ประหยัดและปลอดภัย
การกรอง

การกรอง คือ การแยกสารผสมที่มีสถานะเป็นของแข็งออกจากของเหลว โดยใช้กระดาษกรองซึ่งมีรูพรุนขนาดเล็ก ทำให้อนุภาคของของแข็งนั้นไม่สามารถผ่านกระดาษกรองได้ ส่วนอนุภาคของของเหลวจะผ่านกระดาษกรองได้ ซึ่งในชีวิตประจำวันเราจะคุ้นเคยกับการกรองในรูปของการใช้ผ้าขาวบางในการคั้นน้ำกะทิจากมะพร้าว แผ่นกรองอากาศในเครื่องปรับอากาศ อุปกรณ์กรองน้ำสะอาดในเครื่องกรองน้ำ เป็นต้น























การตกตะกอน


การตกตะกอน คือ การแยกสารผสมที่เป็นของแข็งที่แขวนลอยอยู่ในของเหลว โดยมีหลักการที่สำคัญ คือ การนำสารผสมตั้งทิ้งไว้ เนื่องจากอนุภาคของแข็งที่แฝงอยู่นั้นมีน้ำหนัก ดังนั้นจึงตกตะกอนอยู่ที่ก้นภาชนะ จากนั้นรินอนุภาคของเหลวด้านบนออกจากอนุภาคของของแข็งจะทำให้ได้สารบริสุทธิ์ทั้งสองส่วน ตัวอย่างของผสมที่ใช้วิธีการแยกสารโดยการตกตะกอน คือ น้ำโคลน ประกอบด้วยส่วนของดินที่แขวนลอยในน้ำ เมื่อตั้งทิ้งไว้นานๆ อนุภาคของดินจะตกตะกอนอยู่ที่ก้นภาชนะ ส่วนน้ำจะใสขึ้นสามารถรินแยกออกจากกันได้ เพื่อเป็นการลดเวลาในการตกตะกอนของสารแขวนลอย นักวิทยาศาสตร์จึงได้คิดค้นเครื่องเหวี่ยง (centrifuge) แรงเหวี่ยงดังกล่าวจะทำให้ของแข็งที่แขวนลอยในของเหลวตกตะกอนได้ง่ายและเร็วขึ้น





วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2552

คำชี้แจง จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

1.ข้อใดทำปฏิกิริยากับเบสได้เกลือกับน้ำ เรียกว่า ปฏิกิริยาสะเทิน เช่น Caoh+Hci+Naci+H2o

ก.กรด
ข.เบส
ค.เกลือ
ง.เกลือกับน้ำ

2.ในสารละลายเบสทุกชนิดจะมีไอออนที่เหมือนกันอยู่คือข้อใด

ก.ไฮดรอกไซด์ไอออน (OH)
ข.ไฮโดรเนียมไอออน (H3O+)
ค.ไฮโดรคลอริก (HCI)
ง.ถูกทุกข้อ

3.ข้อใดทำปฏิกิริยากับเกลือคาร์บอเนต (CO23) หรือเกลือไฮโดรเจนคาร์บอเนต(HCO3) จะได้ข้อใด

ก.เกลือ + น้ำ
ข.เกลือ + น้ำ + ออกซิเจน
ค.เกลือ + น้ำ + คาร์บอนไดซ์ออกไซด์
ง.ถูกทุกข้อ

4.ทำปฏิกิริยากับโลหะซัลไฟด์จะได้เกลือและก๊าซข้อใด

ก.ก๊าซออกซิเจน
ข.ก๊าซคาร์บอนไดซ์ออกไซด์
ค.ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (ก๊าซไข่เน่า)
ง.ก๊าซไฮโดรเจน

5.ข้อใดเปลี่ยนสีอินดิเคเตอร์ เช่น กระดาษลิตมัสจากน้ำเงินเป็นแดง

ก.เบส
ข.น้ำเกลือ
ค.เกลือ
ง.กรด










การสร้างที่เก็บน้ำด้วยไม้ไผ่



เครื่องสานจากไม้ไผ่ไม่ว่าจะเป็นรูปร่างอย่างไรก็ตามสามารถทำ ให้เป็นภาชนะสำหรับเก็บน้ำได้ โดยการนำมาฉาบด้วย “ฟลิ้นโค้ท” ซึ่งเป็น สารผสมที่ทำมาจากยางมะตอยและสารยึดเหนี่ยวหลายชนิด เป็นของเหลว ที่แห้งเร็วมีคราบเหนียว ผสมน้ำได้ แต่เมื่อแห้งแล้วไม่ละลายน้ำ ทนน้ำและ ทนทานต่อความร้อน เย็น ไม่ละลายเมื่อถูกแดดเหมือนยางมะตอย และไม่ ผุกรอบเหมือนชัน จึงมีความทนทานและมีราคาถูก ส่วนเครื่องสานไม้ไผ่ ควรสานให้ทึบที่สุด เพื่อให้ฉาบฟลิ้นโค้ทได้ง่าย วัสดุและอุปกรณ์ 1. เครื่องสานด้วยไม้ไผ่ตามขนาดที่ต้องการ2. ฟลิ้นโค้ทชนิดผสมน้ำหาซื้อได้ตามร้านขายปุ๋ย ขายสีทาบ้าน หรือยาฆ่าแมลงหรือตามปั๊มน้ำมันเชลล์ทั่วไป 3. ผ้าฝ้ายเป็นผ้าเก่าหรือใหม่ก็ได้ หรือกระดาษสา ถ้าหาไม่ได้ก็ ใช้เศษกระดาษทั่วไปแทนก็ได้ 4. แปรงสำหรับใช้ทา หรือจะใช้มือก็ได้ ภาพตัวอย่างเครื่องสานวิธีทาฟลิ้นโค้ทบนเครื่องสานเริ่มทางด้านในก่อนตามลำดับดังนี้ 1. ใช้ฟลิ้นโค้ทผสมน้ำเล็กน้อยทาบาง ๆ ให้ทั่วเป็นชั้นแรก นำไป ผึ่งแดดให้พอหมาด 2. ใช้ฟลิ้นโค้ทล้วน ๆ ทาจนทั่วเป็นชั้นที่สอง ผึ่งแดดแห้งพอหมาด แล้วจึงทาชั้นที่สามให้ทึบ 3. เอาผ้าฝ้ายตัดเป็นชิ้นในขนาดที่ทำสะดวก ชุบน้ำให้เปียกจนทั่ว บีบน้ำทิ้งแล้วชุบฟลิ้นโค้ท แล้วบุด้านในให้ชายผ้าทับกันให้เรียบร้อย ค่อย ๆ ทำไปทีละชิ้นจนแล้วเสร็จ ถ้าเป็นกระดาษสาไม่ต้องชุบน้ำ เมื่อบุดังนี้ เสร็จแล้วรีบทาทันทีเป็นชั้นที่สี่ แล้วตากให้แห้งพอหมาด ๆ 4. ทาฟลิ้นโค้ทล้วน ๆ ทับให้ทั่วเป็นชั้นสุดท้าย ด้านนอก : ทาฟลิ้นโค้ทล้วน ๆ ให้ทั่วสักสองชั้น โดยเว้นระยะผึ่ง แดดเหมือนด้านใน ทั้งสองด้านนี้ใช้เวลาประมาณ 4 ชม. เมื่อเสร็จเรียบร้อย ทุกอย่างแล้ว ให้ตากแดดทิ้งไว้สัก 1 วัน ก็นำมาใส่น้ำได้ น้ำจะไม่มีพิษหรือกลิ่นที่เป็นอันตราย ดื่มหรือใช้ได้ตามความต้องการข้อดีของที่เก็บน้ำแบบนี้คือ ราคาถูกเพราะสานได้เอง มีน้ำหนักเบา ตกไม่แตก ทนทานต่อแดดฝน กันปลวกมอดได้ดีกว่าเครื่องสานอื่น ๆ และ ซ่อมแซมง่ายเมื่อเกิดการรั่วซึมข้อควรระวังเมื่อฟลิ้นโค้ทเปื้อนเสื้อผ้า ต้องรีบขยำน้ำทันที ถ้าปล่อยให้แห้งต้อง ซักด้วยน้ำมันก๊าซ อย่าใช้ภาชนะนี้ใส่น้ำมัน เพราะฟลิ้นโค้ทแบบผสมน้ำนี้ สามารถละลายได้ในน้ำมัน ฟลิ้นโค้ทที่เหลือใช้ควรเก็บไว้ในที่ปกปิดมิดชิด ถ้าเก็บดีจะนำมาใช้ได้อีก ไม้ไผ่ที่นำมาสานต้องมีอายุแก่พอเหมาะที่จะใช้ งานได้ดี เพื่อป้องกันมอด ฝีมือสานก็ต้องดีพอ และถ้าทำขนาดใหญ่ควร มีโครงแข็งแรงเพิ่มขึ้น เมื่อยังไม่แห้งสนิท อย่าให้ถูกน้ำหรือตากฝน เพื่อนเกษตร 6(9), 2522
เขียนโดย เด็กหญิงกมลมาศ ดาวคะนอง 0 ความคิดเห็น
เครื่องกรองน้ำสะอาดแบบชาวบ้าน
















คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลศิริราช โดย ศจ.นพ. ร่มไทร สุวรรณิก ได้คิดค้นเครื่องกรองน้ำเสียให้เป็นน้ำบริสุทธิ์แบบประหยัด ด้วยวิธีการ ง่าย ๆ และลงทุนในราคา 300-400 บาท

1. อุปกรณ์

ก. โอ่งหรือถัง สูงประมาณ 18 นิ้ว (อาจจะมากกว่าก็ได้) จำนวน 3 ใบ
ข. สายยางใส เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5 ซม. ยาว 2 เมตร
ค. ขั้วต่อสายยาง คอยปรับระดับน้ำให้ไหลมากหรือน้อย 2 อัน สายยางและต้นขั้วต่อสายยางนั้นอาจใช้ชุดของ สายน้ำเกลือนำมาใช้ได้เลย ซึ่งสามารถขอได้ตาม โรงพยาบาลต่าง ๆ ซึ่งมีที่ปรับเร่งให้ไหลเร็วหรือช้า ก็ได้


2. วิธีเจาะ

ก. เจาะตุ่มด้วยฆ้อนกับตะปู กว้างพอกับสายยาง
ข. โอ่งหรือถังใบที 1 เจาะ 1 รู สูงจากก้นโอ่ง 2 นิ้ว
ค. โอ่งหรือถังใบที่ 2 และ 3 เจาะ 2 รู รูล่างให้เสมอกับ โอ่ง รูบนวัดจากปากโอ่งลงมา 2-3 นิ้ว














รูปที่ 1 แสดงการเจาะตุ่มหรือโอ่ง ต่อสายยาง และการบรรจุกรวดและทราย

3. ต่อสายยาง

ก. ต่อสายยางจากรูที่ก้นโอ่งใบที่ 1 กับสายยางที่รูก้นโอ่ง ใบที่ 2 โดยใช้ขั้วต่อ
ข. ต่อสายยางจากรูที่ปากโอ่งใบที่ 2 กับสายยางที่รูก้น โอ่งใบที่ 3 โดยใช้ขั้วต่อเช่นเดียวกัน
ค. เสียบสายยางที่รูปากโอ่งใบที่ 3 และปล่อยสายยาง ทิ้งไว้

4. วิธีบรรจุกรวดและทราย

ก. กรวดและทรายละเอียดที่ใช้ต้องล้างให้สะอาด
ข. วิธีบรรจุกรวดและทรายละเอียดในโอ่งใบที่ 2 และ 3 เหมือนกัน
ค. ใส่กรวดลงก่อนให้สูงพอมิดสายยาง เพื่อกันไม่ให้ ทรายเข้าไปอุดรูสายยาง
ง. แล้วใส่ทรายละเอียดลงไปให้ความสูงของทรายอยู่ใต้ รูบนประมาณ 1 นิ้ว


5. การยกระดับ ช่วยให้การไหลของน้ำดีขึ้น และป้องกันการไหล ย้อนกลับ

ก. โอ่งใบที่ 1 สูงจากระดับพื้น 20 นิ้ว
ข. โอ่งใบที่ 2 สูงจากระดับพื้น 10 นิ้ว
ค. โอ่งใบที่ 3 สูงจากระดับพื้น 3 นิ้ว




















รูปที่ 2 ขั้นตอนของการกรองน้ำให้สะอาด


6. วิธีกรอง

ก. เทน้ำลงในโอ่งใบที่ 1 ใส่คลอรีนประมาณ 1 ช้อนชาและแกว่งสารส้ม (น้ำที่เทลงในโอ่งจะเป็นน้ำที่เสีย คือ สกปรกซึ่งอาจนำมาจากตามแม่น้ำลำคลอง)
ข. น้ำจะถูกกรองโดยโอ่งใบที่ 2 ผ่านกรวดและทรายเอ่อ ขึ้นสวนทางกับแรงดึงดูดของโลก และไหลออกทาง สายยางที่ปากโอ่งใบที่ 2 ไปยังก้นโอ่งใบที่ 3
ค. น้ำจะถูกกรองจากโอ่งใบที่ 3 เช่นเดียวกับโอ่งใบที่ 2
ง. น้ำที่ออกจากโอ่งใบที่ 3 เราดื่มได้เลย จำนวนน้ำที่ได้ ประมาณ 60-70 ลิตรต่อวัน


7. วิธีล้างโอ่งกรอง


ถอดสายยางตรงขั้วต่อออก ปล่อยน้ำจากก้นโอ่งกรองที่ 2 และ 3 ออกจนหมดน้ำขุ่นเท่านั้น
ด้วยวิธีการง่าย ๆ เช่นนี้ เราก็สามารถได้น้ำที่สะอาด น้ำที่ ผ่านขั้นตอนเหล่านี้มาแล้วสามารถนำไปดื่มได้ทันที
นอกจากจะช่วยให้ประโยชน์แก่ผู้ประสบอุทกภัยน้ำท่วม แล้ว เครื่องกรองน้ำแบบง่าย ๆ นี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ดีสำหรับผู้ที่ บ้านอยู่ตามริมแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่น่าใช้มากที่สุด คือผู้ที่อาศัยตามหมู่บ้านที่สูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ หรือถ้าอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม อย่างใกล้ชิด เช่น หมู่บ้านจัดสรร หรือหมู่บ้านที่มีโครงสร้างสนิทสนมกัน มากตามแบบไทย ๆ ก็อาจดัดแปลงร่วมใจกันสร้างเครื่องกรองน้ำสำหรับ ชุมชนขนาดย่อมได้ โดยช่วยกันสละเงินคนละเล็กคนละน้อย แล้วช่วยกันดู แลรักษา ตัวอย่างที่ทำกันมาแล้วเช่น เช่นที่อำเภอหัวไผ่ จังหวัดอ่างทอง และ ที่โรงเรียนสลัมคลองเตย ซึ่งปรากฏว่า มีน้ำสะอาดบริโภคกันอย่างทั่วถึง

โครงการเกลือคุณภาพ น้ำปลาคุณภาพ น้ำดื่มสะอาด ศิริราช 21



























ที่มา http://images.google.co.th/imgres?imgurl=http://www.tistr.or.th/t/publication/2/55/105-3.gif&imgrefurl=http://www.tistr.or.th/t/publication/page_area_show_bc.asp%3Fi1%3D55%26i2%3D26&usg=__pziOyn2SNXYVj6whiNf4ICl2Alg=&h=300&w=536&sz=19&hl=th&start=101&um=1&tbnid=PT8S2jbsTcxVxM:&tbnh=74&tbnw=132&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%2599%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B3%26ndsp%3D20%26hl%3Dth%26sa%3DN%26start%3D100%26um%3D1publication/page_area_show_bc.asp%3Fi1%3D55%26i2%3D26&usg=__pziOyn2SNXYVj6whiNf4ICl2Alg=&h=300&w=536&sz=19&hl=th&start=101&um=1&tbnid=PT8S2jbsTcxVxM:&tbnh=74&tbnw=132&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%2599%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B3%26ndsp%3D20%26hl%3Dth%26sa%3DN%26start%3D100%26um%3D1
เขียนโดย เด็กหญิงกมลมาศ ดาวคะนอง 0 ความคิดเห็น

วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2552



พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ครองราชย์ 16 ปี (พ.ศ. 2394-2411) พระชมมายุ 66 พรรษา เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย และสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้ามหามาลา เมื่อพระชนมายุได้ 9 พรรษา ได้รับสถาปนาเป็นเจ้าฟ้ามงกุฎ มีพระราชอนุชาร่วมพระราชมารดา คือ เจ้าฟ้าจุฬามณี ซึ่งต่อมาได้รับสถาปนาเป็น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อพระชนมายุได้ 21พรรษา ได้ออกผนวชตามประเพณีและอยู่ในเพศบรรพชิต ตลอดรัชสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อรัชกาลที่ 3 สวรรคตจึงได้ลาสิกขามาขึ้นครองราชสมบัติระหว่างที่ทรงผนวชประทับอยู่ที่วัดมหาธาตุ แล้วทรงย้ายไปอยู่วัดราชาธิวาส (วัดสมอราย) พระองค์ได้ทรงตั้งคณะสงฆ์ ชื่อ " คณะธรรมยุตินิกาย " ขึ้น ต่อมาทรงย้ายไปอยู่วัดบวรนิเวศวิหาร ได้รับแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะ และได้เป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศองค์แรก ทรงรอบรู้ภาษาบาลีและแตกฉานในพระไตรปิฎก นอกจากนั้น ยังศึกษาภาษาลาติน และภาษาอังกฤษจนสามารถใช้งานได้ดีในรัชสมัยของพระองค์ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส ต่างก็ส่งทูตมาขอทำสนธิสัญญาในเรื่อง สิทธิสภาพนอกอาณาเขตให้แก่คนในบังคับของตน และสิทธิการค้าขายเสรี ต่อมาไทยได้ทำสัญญาไมตรีกับประเทศนอร์เวย์ เบลเยี่ยมและอิตาลี และได้ทรงส่งคณะทูตออกไปเจริญพระราชไมตรีกับต่างประเทศ นับเป็นครั้งที่สองของไทย นับต่อจากสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยไปยังประเทศอังกฤษ และฝรั่งเศสทรงจ้างชาวยุโรปมารับราชการในไทย ในหน้าที่ล่ามแปลเอกสารตำรา ครูฝึกวิชาทางทหารและตำรวจ และงานด้านการช่าง ทรงตั้งโรงพิมพ์ของรัฐบาล ตั้งโรงกษาปณ์เพื่อผลิตเงินเหรียญ แทนเงินพดด้วงและเบี้ยหอยที่ใช้อยู่เดิม มีโรงสีไฟ โรงเลื่อยจักร เปิดที่ทำการศุลกากร ตัดถนนสายหลัก ๆ ได้แก่ ถนนบำรุงเมือง ถนนเฟื่องนคร ถนนเจริญกรุง และถนนสีลม มีรถม้าขึ้นใช้ครั้งแรก ขุดคลองผดุงกรุงเกษม คลองมหาสวัสดิ์ คลองภาษีเจริญ คลองดำเนินสะดวก และคลองหัวลำโพงด้านการปกครอง ได้จัดตั้งตำรวจนครบาล ศาล แก้ไขกฎหมายให้ทันสมัย ให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาด้านศาสนา ได้สร้างวัดราชประดิษฐ์ วัดมงกุฎกษัตริยารามและวัดปทุมวนาราม เป็นต้น ทรงเชี่ยวชาญทางโหราศาสตร์ สามารถคำนวณการเกิดจันทรุปราคา และสุริยุปราคาได้อย่างแม่นยำ ทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาหมดดวงในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ปี พ.ศ. 2411 ณ ตำบลหว้ากอ(คลองวาฬ) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้อย่างถูกต้อง
เขียนโดย ด.ญ.กมลมาศ ดาวคะนอง ที่ 5:16 ก่อนเที่ยง 0 ความคิดเห็น







แบบจำลองของแฟตแมน หลังสงคราม











แบบจำลองระเบิดลิตเติลบอยหลังจากระเบิด
จริงถูกนำไปทิ้งที่เมืองฮิโรชิ





เมฆรูปดอกเห็ดเหนือเมืองฮิโรชิมาหลังการทิ้งระเบิด "ลิตเติลบอย"ลิตเติลบอย (ภาษาอังกฤษ: Little Boy) เป็นชื่อรหัสของระเบิดปรมาณู ที่ถูกนำไปทิ้งเหนือเมืองฮิโรชิมา ของประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2488 โดยเครื่องบิน B-29 Superfortress (เครื่องบินลำนี้มีชื่อ Enola Gay) ผู้ทำหน้าที่นักบินคือ นายพันโทพอล ทิบเบตส์ (Paul Tibbets) แห่งกองกำลังอากาศในกองทัพบกสหรัฐอเมริกา (ภายหลังได้ยกฐานะขึ้นเป็นกองทัพอากาศ) นับเป็นระเบิดปรมาณูลูกแรก ที่ใช้ในการสงคราม ส่วนระเบิดปรมาณูลูกที่สอง ซึ่งมีชื่อว่า แฟตแมน นั้น ถูกนำไปทิ้งเหนือเมืองนางาซากิของญี่ปุ่นในอีก 3 วันต่อมาอาวุธนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นในระหว่างจัดตั้งโครงการแมนฮัตตัน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และได้กำลังระเบิดมาจากธาตุยูเรเนียมที่ผ่านกระบวนการแยกไอโซโทปแล้ว (enriched uranium) การทิ้งระเบิดปรมาณูเหนือเมืองฮิโรชิมา และนางาซากิของญี่ปุ่นนั้น ถือเป็นการระเบิดปรมาณูครั้งที่ 2 ในประวัติศาสตร์ (ครั้งแรก เป็นการทดลองเรียกว่า ทดลองทรีนิตี้ (Trinity test)) ระเบิดลิตเติลบอย มีความยาว 3 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 71 เซนติเมตร และน้ำหนัก 4,000 กิโลกรัม บรรจุธาตุยูเรเนียมประมาณ 64 กิโลกรัม แต่ส่วนที่จะเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิซชันมีน้ำหนักเพียง 700 กรัมเท่านั้น
การทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ถล่มฮิโระชิมะและนะงะซะกิ (อังกฤษ: The atomic bombings of Hiroshima and Nagasaki) เป็นการโจมตีจักรวรรดิญี่ปุ่นด้วยอาวุธนิวเคลียร์ของสหรัฐอเมริกา เมื่อปลายสงครามโลกครั้งที่สอง โดยคำสั่งของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา แฮรี่ เอส. ทรูแมน เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม และวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2488 หลังจากการโจมตีทิ้งระเบิดเพลิงตามเมืองต่างๆ 67 เมืองของญี่ปุ่นอย่างหนักหน่วงเป็นเวลาติดต่อกันถึง 6 เดือน สหรัฐอเมริกาจึงได้ทิ้ง "ระเบิดปรมาณู" หรือที่เรียกในปัจจุบันว่าระเบิดนิวเคลียร์ที่มีชื่อเล่นเรียกว่า "เด็กน้อย" หรือ "ลิตเติลบอย" ใส่เมืองฮิโรชิมาในวันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ตามด้วย "ชายอ้วน" หรือ "แฟตแมน" ลูกที่สองใส่เมืองนะงะซะกิโดยให้จุดระเบิดที่ระดับสูงเหนือเมืองเล็กน้อย นับเป็นระเบิดนิวเคลียร์เพียง 2 ลูกเท่านั้นที่นำมาใช้ในประวัติศาสตร์การทำสงคราม
























เมฆรูปดอกเห็ดที่ลอยตัวสูงถึง 18 กิโลเมตรเหนือจุดระเบิดของ "ชายอ้วน" หรือ "แฟทแมน" ลูกที่สองที่ระเบิดกลางอากาศเหนือเมืองนะงะซะกิ
การระเบิดทำให้มีคนตายที่ฮิโรชิมา 140,000 คนและที่นะงะซะกิ 80,000 คนโดยนับถึงปลายปี พ.ศ. 2488 จำนวนคนที่เสียชีวิตทันทีในวันที่ระเบิดลงมีจำนวนประมาณครึ่งหนึ่งของจำนวนที่กล่าวนี้ และในระยะต่อมาก็ยังมีผู้เสียชีวิตด้วยการบาดเจ็บหรือจากการรับกัมมันตภาพรังสีที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากการระเบิดอีกนับหมื่นคน ผู้เสียชีวิตเกือบทั้งหมดในทั้ง 2 เมืองเป็นพลเรือนแผนที่แสดงตำแหน่งเมืองฮิโรชิมาและนะงะซะกิ ประเทศญี่ปุ่นที่ถูกทิ้งระเบิดปรมาณูหลังการทิ้งระเบิดลูกที่สองเป็นเวลา 6 วัน ญี่ปุ่นประกาศตกลงยอมแพ้สงครามต่อฝ่ายพันธมิตรเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2488 และลงนามในตราสารประกาศยอมแพ้สงครามมหาสมุทรแปซิฟิกที่นับเป็นการยุติสงครามโลกครั้งที่สอง อย่างเป็นทางการในวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2488 (นาซีเยอรมนีลงนามตราสารประกาศยอมแพ้และยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรปอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2488) การทิ้งระเบิดทั้งสองลูกดังกล่าวมีส่วนทำให้ประเทศญี่ปุ่นต้องยอมรับหลักการ 3 ข้อว่าด้วยการห้ามมีอาวุธนิวเคลียร์ สหรัฐอเมริกา กับอังกฤษและแคนนาดา ได้ร่วมมือกันตั้งโครงการลับ "ทูบอัลลอยด์" และ "สถานีวิจัยคลาค รีเวอร์" เพื่ออกแบบและพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ลูกแรก ภายใต้โครงการที่เรียกว่า "โครงการแมนฮัตทัน" ภายใต้การค้นคว้าวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ และนักฟิสิกส์อเมริกัน นาม เจ โรเบิร์ต, ระเบิดปรณูที่ใช้ถล่มเมือง ฮิโรชิมา ของญี่ปุ่น ที่ชื่อ "ลิตเติ้ลบอย" นั้น ได้ใช้ ยูเรเนี่ยม -235, ลูกระเบิดลูกแรกถูกทดสอบที่ ทรีนิตี้ ,นิวเม็กซิโก ในวันที่ 16 กรกฎาคม 2488 ,ส่วนระเบิดที่ใช้ถล่ม นางาซากิ นั้นใช้ พลูโตเนี่ยม -239[แก้] การเลือกเป้าหมายทิ้งระเบิดในวันที่ 10 -11 พฤษภาคม 2488 ได้มีการคัดเลือกเป้าหมายที่ Los Alamos นำโดยเจ โรเบิร์ต นักฟิสิกซ์ ใน "โครงการแมนฮัตทัน" ได้แนะนำ เป้าหมายสำหรับระเบิดลูกแรก คือ เมืองเกียวโต ,ฮิโรชิมา ,โยโกฮามา โดยใช้เงื่อนไขที่ว่าเป้าหมายต้องมีพื้นที่ขนาดใหญ่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 ไมค์และเป็นเขตชุมชุนที่สำคัญขนาดใหญ่ ระเบิดต้องสามารถทำลายล้างและสร้างความเสียหายได้อย่างมีประสิทธภาพ เป้าหมายมียุทโธปกรณ์และที่ตั้งของทหารต้องได้รับการระบุที่ตั้งแน่นอน เพื่อป้องกันหากการทิ้งระเบิดเกิดข้อผิดพลาด
ผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์ระเบิดในครั้งนั้น เรียกจุดที่ระเบิดถูกทิ้งลงใส่ ฮิโรชิมา ว่า "ฮิบะกุชะ" ในภาษาญี่ปุ่นหรือแปลเป็นภาษาไทยว่า "จุดระเบิดที่มีผลกระทบต่อชาวญี่ปุ่น" ด้วยเหตุนี้ ญี่ปุ่น จึงมีนโยบายต่อต้่านการใช้ระเบิดปรมณู ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และประกาศเจตนาให้โลกรู้ว่า ญี่ปุ่นมีนโยบายจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับอาวุธนิวเคลียร์, ในวันที่ 31 เดือนมีนาคม 2551 "ฮิบะกุชะ" มีรายชื่อผู้เสียชีวิตจากทั้งสองเมืองของญี่ปุ่น ที่ถูกจารึกไว้ประมาณ 243,692 คน และในเดือนสิงหาคมของปีเดียวกัน มีรายชื่อผู้เสียชีวิตที่ถูกจารึกไว้เพิ่มขึ้นมากกว่า 400,000 คน โดยแบ่งออกเป็น เมืองฮิโรชิมา 258,310 คน และเมืองนางาซากิ 145,984 คน[แก้] ผู้รอดชีวิตชาวเกาหลีในระหว่างสงครามนั้น ญี่ปุ่นได้เกณฑ์แรงงานชาวเกาหลีไปใช้งานอย่างทาสในทั้งสองเมือง ทั้งฮิโรชิมา และนางาซากิ. ปัจจุบันคาดการณ์ว่ามีชาวเกาหลีที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ระเบิดนิวเคลียร์ ในประเทศญี่ปุ่น ที่เมือง ฮิโรชิมา ประมาณ 20,000 คน และอีกประมาณ 2,000 คน เสียชีวิตที่เมืองนางาซากิ ซึ่งประชากรเกาหลีที่เสียชีวิตในเหตุการณ์นี้มากถึง 1 ใน 7 ของจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด , ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาชาวเกาหลีพยายามต้อสู้เพื่อรับการดูแลรักษา ผลกระทบจากเหตุการณ์นี้ ,อย่างไรก็ตามทุกคนได้รับการเยียวยาภายใต้กฎหมายในปัจจุบัน.ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/การทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ถล่มฮิโระชิมะและนะงะซะกิ
เขียนโดย ด.ญ.กมลมาศ ดาวคะนอง ที่ 6:06 หลังเที่ยง 0 ความคิดเห็น
โครงสร้างอะตอมและตารางธาตุโครงสร้างอะตอมโครงสร้างอะตอมอะตอม มีลักษณะเป็นทรงกลมแบบกลุ่มหมอก ประกอบด้วยอนุภาคมูลฐานที่มีมวลน้อยมาก 3 ชนิดได้แก่ นิวตรอน (Neutron) โปรตอน (Proton) และอิเล็กตรอน (Electron)มีนิวเคลียสอยู่ตรงกลางซึ่งภายในประกอบด้วยอนุภาคของนิวตรอนและโปรตอนอยู่ อาจเรียกว่านิวคลิออน (Nucleon) มีอิเล็กตรอนเคลื่อนที่ไปรอบๆนิวเคลียส ซึ่งไม่สามารถกำหนดความเร็ว ทิศทางและตำแหน่งที่แน่นอนได้ จึงทำให้โอกาส ที่จะพบอิเล็กตรอนในบริเวณหนึ่งๆไม่สม่ำเสมอ บริเวณที่สามารถพบอิเล็กตรอนได้ถูกเรียกว่า ออร์บิทัล (Orbital)บริเวณที่ใกล้นิวเคลียสมากที่สุดจะมีกลุ่มหมอกอิเล็กตรอนที่หนาแน่นที่สุด ระดับพลังงานของอิเล็กตรอนถูกกำหนดให้แทนด้วย n = 1 และเมื่อห่างจากนิวเคลียสมากขึ้น ความหนาแน่นของกลุ่มหมอกอิเล็กตรอนจะน้อยลง ค่าของระดับพลังงานของอิเล็กตรอนจะถูกกำหนดให้แทนด้วย n = 2 n = 3 n = 4 ตามลำดับ










ตารางแสดงมวลและประจุของอนุภาคมูลฐานในอะตอมการจัดเรียงอิเล็กตรอนการจัดแบ่งอิเล็กตรอนที่โคจรในอะตอมจะแบ่งตามกลุ่มของระดับพลังงาน (n) โดยจำนวนอิเล็กตรอนที่มากที่สุดในแต่ละระดับพลังงานมีค่าไม่เกิน 2n2n = 1 จำนวน 2 อิเล็กตรอนn = 2 จำนวน 8 อิเล็กตรอนn = 3 จำนวน 18 อิเล็กตรอนn = 4 จำนวน 32 อิเล็กตรอนจำนวนอิเล็กตรอนในระดับพลังงานนอกสุด (Valence Electron) จะมีได้มากที่สุดไม่เกิน8 อิเล็กตรอนเลขอะตอม (Atomic Number : Z) คือ จำนวนโปรตอนในนิวเคลียสของแต่ละอะตอมของธาตุ ซึ่งปกติอะตอมที่เป็นกลางจะมีจำนวน ประจุบวกเท่ากับประจุลบเสมอ จึงทำให้จำนวนโปรตอนกับจำนวนอิเล็กตรอนของธาตุมีค่าเท่ากัน-เลขอะตอม = จำนวนโปรตอน = จำนวนอิเล็กตรอน-เลขมวล (Mass Number : A) คือ ผลรวมของจำนวนนิวตรอนกับจำนวนโปรตอนที่อยู่ในนิวเคลียสของอะตอม ยกเว้นอะตอมของไฮโดรเจน ซึ่งมี จำนวนโปรตอน 1 ตัว ไม่มีนิวตรอนเลขมวล = จำนวนโปรตอน + จำนวนนิวตรอน= เลขอะตอม + จำนวนนิวตรอนตารางธาตุ

ตารางธาตุ คือ ตารางที่ใช้แสดงธาตุเคมี คิดค้นขึ้นโดยนักเคมีชาวรัสเซีย ดมีตรี เมนเดเลเยฟ ในปี พ.ศ. 2412 จากการสังเกตว่าเมื่อนำธาตุต่างๆมาเรียงตัวลำดับเลขอะตอม คุณสมบัติต่าง ๆ ของธาตุที่นำมาเรียงนั้นจะมีลักษณะคล้ายกันเป็นช่วง ๆ ซึ่งในปัจจุบันตารางธาตุได้เป็นส่วนหนึ่งในการเรียนการสอนวิชาเคมีด้วยประวัติศาสตร์ของตารางธาตุเริ่มต้นจาก จอห์น นิวแลนด์ส ได้พยายามเรียงธาตุตามมวลอะตอม แต่เขากลับทำให้ธาตุที่มีสมบัติต่างกันมาอยู่ในหมู่เดียวกัน นักเคมีส่วนมากจึงไม่ยอมรับตารางธาตุของนิวแลนด์ส ต่อมา ดมีตรี เมนเดเลเยฟ จึงได้พัฒนาโดยพยายามเรียงให้ธาตุที่มีสมบัติเหมือนกันอยู่ในหมู่เดียวกัน และเว้นช่องว่างไว้สำหรับธาตุที่ยังไม่ค้นพบ พร้อมกันนั้นเขายังได้ทำนายสมบัติของธาตุใหม่ไว้ด้วย โดยใช้คำว่า เอคา (Eka) นำหน้าชื่อธาตุที่อยู่ด้านบนของธาตุที่ยังว่างอยู่นั้น เช่น เอคา-อะลูมิเนียม (ต่อมาคือธาตุแกลเลียม) เอคา-ซิลิคอน (ต่อมาคือธาตุเจอร์เมเนียม) แต่นักเคมีบางคนในยุคนั้นยังไม่แน่ใจ เนื่องจากว่าเขาได้สลับที่ธาตุบางธาตุโดยเอาธาตุที่มีมวลอะตอมมากกว่ามาไว้หน้าธาตุที่มีมวลอะตอมน้อยกว่า ดมีตรีได้อธิบายว่า เขาต้องการให้ธาตุที่มีสมบัติเดียวกันอยู่ในหมู่เดียวกัน เมื่อดมีตรีสามารถทำนายสมบัติของธาตุได้อย่างแม่นยำ และตารางธาตุของเขาไม่มีข้อน่าสงสัย ตารางธาตุของดมีตรีก็ได้รับความนิยมจากนักเคมีในสมัยนั้นเป็นต้นมาแหล่งอ้างอิง : http://edu.e-tech.ac.th/somchai/unt7/un7.htmlhttp://th.wikipedia.org/wiki/ตารางธาตุhttp://student.mahidol.ac.th/~u4903088/Chem-neon/Periodic_Table.jpg2.พันธะเคมีพันธะโควาเลนต์ (อังกฤษ:Covalent bond) คือพันธะเคมี (chemical bond) ภายในโมเลกุลชนิดหนึ่ง พันธะโควาเลนต์เกิดจากอะตอมสองอะตอมใช้วาเลนซ์อิเล็กตรอนหนึ่งคู่หรือมากกว่าร่วมกัน ทำให้เกิดแรงดึงดูดที่รวมอะตอมเป็นโมเลกุลขึ้น อะตอมมักสร้างพันธะโควาเลนต์เพื่อเติมวงโคจรอิเล็กตรอนรอบนอกสุดของตัวเองให้เต็ม ดังนั้นอะตอมที่สร้างพันธะโควาเลนต์จึงมักมีวาเลนซ์อิเล็กตรอนอยู่มาก เช่น ธาตุหมู่ VI และหมู่ VII เป็นต้น พันธะโควาเลนต์แข็งแรงกว่าพันธะไฮโดรเจนและมีความแข็งแรงพอๆ กับพันธะไอออนิก พันธะโควาเลนต์มักเกิดขึ้นระหว่างอะตอมที่มีค่าอิเล็กโตรเนกาทิวิตีใกล้เคียงกัน ธาตุอโลหะมีแนวโน้มที่จะสร้างพันธะโควาเลนต์มากกว่าธาตุโลหะซึ่งมักสร้างพันธะโลหะ เนื่องจากอิเล็กตรอนของธาตุโลหะสามารถเคลื่อนอย่างอิสระ ในทางกลับกัน อิเล็กตรอนของธาตุอโลหะไม่สามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระนัก การใช้อิเล็กตรอนร่วมกันจึงเป็นทางเลือกเดียวในการสร้างพันธะกับธาตุที่มีสมบัติคล้ายๆ กัน อย่างไรก็ดี พันธะโควาเลนต์ที่มีโลหะนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งในการเร่งปฏิกิริยา ตัวอย่างเช่น พันธะโควาเลนต์ระหว่างสารอินทรีย์กับโลหะเป็นเครื่องมือสำคัญของกระบวนการสร้างพอลิเมอร์หลายๆ กระบวนการ เป็นต้พันธะเคมี แบ่งเป็น 3 ชนิด ดังนี้พันธะโคเวเลนต์ (covalent bond)เกิดจากการใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน (share) ของอะตอมธาตุอโลหะ เพื่อทำให้อะตอมแต่ละอะตอมมีมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนครบแปด หรือเหมือนแก๊สเฉื่อยอะตอมที่ใช้อิเล็กตรอนร่วมกันเรียกว่า อะตอมคู่ร่วมพันธะถ้าอะตอมคู่ร่วมพันธะใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน 1 คู่จะเกิดเป็นพันธะโคเวเลนต์ที่เรียกว่า พันธะเดี่ยว เช่น ในโมเลกุลของไฮโดรเจนถ้าอะตอมคู่ร่วมพันธะใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน 2 คู่จะเกิดเป็นพันธะโคเวเลนต์ที่เรียกว่า พันธะคู่ เช่น ในโมเลกุลของออกซิเจนถ้าอะตอมคู่ร่วมพันธะใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน 3 คู่จะเกิดเป็นพันธะโคเวเลนต์ที่เรียกว่า พันธะสาม เช่น ในโมเลกุลของไนโตรเจนพันธะไอออนิก (Ionic bond) คือ พันธะที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากแรงดึงดูดทางไฟฟ้าสถิตระหว่างไอออนบวก (cation) และไอออนลบ (anion) อันเนื่องมาจากการถ่ายโอนอิเล็กตรอน จากโลหะให้แก่อโลหะโดยทั่วไปแล้วพันธะไอออนิกเป็นพันธะที่เกิดขึ้นระหว่างโลหะและอโลหะ ทั้งนี้เนื่องจากว่าโลหะมีค่าพลังงานไอออไนเซชัน (ionization energy) ต่ำ แต่อโลหะมีค่าสัมพรรคภาพอิเล็กตรอน (electron affinity) สูง ดังนั้นโลหะจึงมีแนวโน้มที่จะให้อิเล็กตรอน และอโลหะมีแนวโน้มที่จะรับอิเล็กตรอน เช่น เมื่อโลหะเสียอิเล็กตรอนก็จะกลายเป็นไอออนบวกพันธะโลหะ (Metallic bond) หมายถึง แรงยึดเหนี่ยวที่ทำให้อะตอมของโลหะ อยู่ด้วยกันในก้อนของโลหะ โดยมีการใช้เวเลนต์อิเล็กตรอนร่วมกันของอะตอมของโลหะ โดยที่เวเลนต์อิเล็กตรอนนี้ไม่ได้เป็นของอะตอมหนึ่งอะตอมใดโดยเฉพาะ เนื่องจากมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลา ทุกๆอะตอมของโลหะจะอยู่ติดกันกับอะตอมอื่นๆ ต่อเนื่องกันไม่มีที่สิ้นสุด จึงทำให้โลหะไม่มีสูตรโมเลกุล ที่เขียนกันเป็นสูตรอย่างง่าย หรือสัญลักษณ์ของธาตุนั้นเองแหล่งอ้างอิง http://learners.in.th/file/dawood/chemical-bond.doc3.ปฏิกิริยาเคมีคือกระบวนการที่เกิดจากการที่สารเคมีเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วส่งผลให้เกิดสารใหม่ขึ้นมาซึ่งมีคุณสมบัติเปลี่ยนไปจากเดิม การเกิดปฏิกิริยาเคมีจำเป็นต้องมีสารเคมีตั้งต้น 2 ตัวขึ้นไป (เรียกสารเคมีตั้งต้นเหล่านี้ว่า "สารตั้งต้น" หรือ reactant)ทำปฏิกิริยาต่อกัน และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในคุณสมบัติทางเคมี ซึ่งก่อตัวขึ้นมาเป็นสารใหม่ที่เรียกว่า "ผลิตภัณฑ์" (product) ในที่สุด สารผลิตภัณฑ์บางตัวอาจมีคุณสมบัติทางเคมีที่ต่างจากสารตั้งต้นเพียงเล็กน้อย แต่ในขณะเดียวกันสารผลิตภัณฑ์บางตัวอาจจะแตกต่างจากสารตั้งต้นของมันโดยสิ้นเชิง แต่เดิมแล้ว คำจำกัดความของปฏิกิริยาเคมีจะเจาะจงไปเฉพาะที่การเคลื่อนที่ของประจุอิเล็กตรอน ซึ่งก่อให้เกิดการสร้างและสลายของพันธะเคมีเท่านั้น แม้ว่าแนวคิดทั่วไปของปฏิกิริยาเคมี โดยเฉพาะในเรื่องของสมการเคมี จะรวมไปถึงการเปลี่ยนสภาพของอนุภาคธาตุ (เป็นที่รู้จักกันในนามของไดอะแกรมฟายน์แมน)และยังรวมไปถึงปฏิกิริยานิวเคลียร์อีกด้วย แต่ถ้ายึดตามคำจำกัดความเดิมของปฏิกิริยาเคมี จะมีปฏิกิริยาเพียง 2 ชนิดคือปฏิกิริยารีดอกซ์ และปฏิกิริยากรด-เบส เท่านั้น โดยปฏิกิริยารีดอกซ์นั้นเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของประจุอิเล็กตรอนเดี่ยว และปฏิกิริยากรด-เบส เกี่ยวกับคู่อิเล็กตรอนในการสังเคราะห์สารเคมี ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ จะถูกนำมาผสมผสานกันเพื่อให้เกิดสารผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ ในสาขาวิชาชีวเคมี เป็นที่ทราบกันว่า ปฏิกิริยาเคมีหลายๆ ต่อจึงจะก่อให้เกิดแนวทางการเปลี่ยนแปลง (metabolic pathway) ขึ้นมาเนื่องจากการที่จะสังเคราะห์ผลิตภัณฑ์โดยตรงนั้นไม่สามารถทำได้ในตัวเซลล์ในคราวเดียวเนื่องจากพลังงานในเซลล์นั้นไม่พอต่อการที่จะสังเคราะห์ ปฏิกิริยาเคมียังสามารถแบ่งได้เป็นปฏิกิริยาอินทรีย์เคมีและปฏิกิริยาอนินทรีย์เคมี
ที่มาweerayut-lks-29.blogspot.com/.../blog-post.html
เขียนโดย ด.ญ.กมลมาศ ดาวคะนอง ที่ 5:39 ก่อนเที่ยง 0 ความคิดเห็น



อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ




อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอนับเป็นสถานที่ท่องเที่ยว พักผ่อนหย่อนใจ และแหล่งเรียนรู้เชิงวิชาการที่เปิดบริการทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น. จุดท่องเที่ยวภายในอุทยานฯ ที่น่าสนใจและไม่ควรพลาด ได้แก่พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำหว้ากอ จัดแสดงพันธุ์ปลาหลากสายพันธุ์ และสัตว์น้ำนานาชนิด ทั้งน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม มากกว่า 50 ตู้ภายใต้แนวคิด "จากขุนเขาสู่ท้องทะเลไทย" อาคารดาราศาสตร์และอวกาศ ภายในจัดแสดงนิทรรศการทางด้านดาราศาสตร์ อวกาศ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สวนผีเสื้อ พบกับผีเสื้อพันธุ์พื้นเมืองนานาชนิดในสวนสวย




ค่ายหว้ากอ จัดขึ้นเพื่อให้เยาวชน นักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไปที่มาเข้าค่ายได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ตรง ก่อให้เกิดทักษะ ทัศนคติและเจตคติที่ดี เรียนรู้การทำงานร่วมกันกับผู้อื่น ฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี










วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2552

เรื่อง สสาร

สสารคืออะไรวัตถุต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา เช่น อากาศ ก๊าซ ดิน น้ำ หรือหนังสือ เป็นสสารทั้งสิ้น ตัวเราเองก็เป็นสสาร สัตว์และพืชก็เป็นสสาร

สสารจะมีคุณสมบัติ 2 ประการ คือ
ต้องการที่อยู่ ถ้าเราเอาหินใส่ในกล่องกระดาษใบหนึ่งทีละก้อน ในที่สุดก้อนหินจะเต็มกล่อง ไม่สามารถใส่ก้อนหินได้อีก เพราะก้อนหินต้องการที่อยู่กล่องจึงเต็ม หรือถ้วยแก้วที่เรามองดูว่าว่างเปล่า แท้ที่จริงแล้วมีอากาศอยู่ภายใน แต่เรามองไม่เห็นมัน ลองเอากระดาษมาหนึ่งชิ้น ใส่ลงไปในก้นแก้วเปล่า แล้วคว่ำถ้วยแก้วนี้ลงไปในถังน้ำ หรืออ่างน้ำ กดให้แก้วจมอยู่ในน้ำสักครู่ จึงยกถ้วยแก้วขึ้นมาตรงๆ จะเห็นว่ากระดาษจะไม่เปียก เพราะน้ำเข้าไปในแก้วไม่ได้ แสดงว่ามีสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ในแก้ว นั่นก็คือ อากาศ ดังนั้นอากาศก็ต้องการที่อยู่ น้ำจึงเข้าไปในแก้วไม่ได้
มีน้ำหนัก สสารทุกอย่างต้องมีน้ำหนัก เช่น กระดาษเราอาจจะไม่รู้สึกว่ากระดาษมันหนัก แต่ถ้าลองยกหนังสือสัก 10 เล่ม จะรู้สึกได้ว่ากระดาษนั้นก็มีน้ำหนัก หรือนำลูกบอลที่ยังไม่ได้สูบลมมาวางไว้บนตาชั่ง แล้วดูว่าหนักเท่าไร หลังจากนั้นนำลูกบอลไปสูบ ให้อากาศเข้าไปจนเต็มลูกบอล แล้วนำไปวางบนตาชั่งอีกครั้ง จะเห็นว่าครั้งนี้ลูกบอลจะหนักกว่าครั้งแรก แสดงว่าอากาศที่เพิ่มเข้าไปในลูกบอลนั้นมีน้ำหนัก

สสารมี 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลวและก๊าซ

ของแข็ง (Solid) คือ สถานะของสสารที่มีอนุภาคอยู่ชิดกัน มีช่องว่างระหว่างอนุภาคน้อย อนุภาค ของสสารจึงเคลื่อนไหวได้ยาก ดังนั้นสสารจึงมีรูปร่างคงที่เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ยาก สสารที่มีสถานะเป็นของแข็ง เช่น


ของเหลว (Liquid) คือ สถานะของสสารที่มีอนุภาคอยู่ห่างกันมากกว่าของแข็ง จึงอยู่กันอย่างหลวม ๆ อนุภาคของสสารจึงเคลื่อนไหวได้ง่ายขึ้น ดังนั้นสสารจึงมีรูปร่างไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงไปตามภาชนะที่บรรจุ สสารที่มีสถานะเป็นของเหลว เช่น

ก๊าซ (Gas) คือ สถานะของสสารที่มีอนุภาคอยู่ห่างกัน จึงมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างกันน้อยมาก ทำ ให้อนุภาคเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ ดังนั้นสสารจึงมีรูปร่างไม่แน่นอน เมื่อสสารอยู่ในภาชนะใดอนุภาคของสสารจะฟุ้งกระจายเต็มภาชนะสสารที่มีสถานะเป็นก๊าซ เช่น อากาศ ก๊าซหุงต้ม เป็นต้น

ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้าด.ญ.กมลมาศ ดาวคะนอง
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1/1และคณะนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที1/1
โรงเรียนเมืองเชลียง
เขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัยเขต 2
อำเภอศรีสัชนาลัย
จังหวัดสุโขทัย

วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2552

พระราชประวัติ








กษัตริย์สยามฯ ผู้เปิดประตูสู่อารยประเทศ พระบาทสมเด็จพระปรเมทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มหากษัตริย์ลำดับที่ 4 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ กรุงรัตนโกสินทร์ ทรงมีพระนามเดิมตามจารึกในพระ สุบรรณพัฎว่า “ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ สมมติ เทววงศ์ พงศ์อิศวรกษัตริย์ ขัตติยราชกุมาร” ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 2 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 และสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ประสูติ วันพฤหัสบดี เดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ ปีชวด ฉศก จุลศักราช 1166 ตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 เมื่อทรงมีพระชนมายุได้ 20 พรรษา ได้ทรงผนวช และทรงได้รับสมณนามฉายาจากพระอุปัชฌาย์ว่า วชิรญาโณ แปลเป็นภาษาไทยว่า “ ผู้มีญาณแข็งแกร่งประดุจดังเพชร ” ทรงเจริญในสมณเพศอยู่นานถึง 26 ปี ภายหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จสวรรคต เมื่อปีพ.ศ. 2394 พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการผู้ใหญ่กราบบังคมทูลอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ลาสิกขาบทขึ้นครองราชสมบัติในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2394 มีพระนามว่า “ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว”
รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นสมัยแรกของการเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองเพื่อความทันสมัย ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมเพื่อให้เห็นว่าไทยเป็นประเทศที่มีอารยธรรมและเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักว่า ประเทศไทยต้องยกเลิกการแยกตัวอยู่อย่างโดดเดี่ยวอย่างที่เคยทำมา ต้องยอมทำการค้ากับต่างประเทศและรับความคิดเห็นใหม่แบบตะวันตก การแก้ไขปรับปรุงการปกครองบ้านเมือง ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ภายนอกประเทศเป็นเรื่องจำเป็น รวมทั้งแก้ไขเปลี่ยนแปลงประเพณีล้าสมัย ทรงใช้พระบรมราโชบายเป็นสายกลางผสมผสานระหว่าง ตะวันตกและตะวันออก ดังพระราชดำริว่า “ อย่าติดของเก่า อย่าตื่นของใหม่ จงค้นหาดีในของเก่าของใหม่”
ตลอดระยะเวลา 17 ปี ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ ได้ทรงปกครองประเทศด้วยพระปรีชาสามารถ ทรงเป็นทั้งพระเจ้าแผ่นดินและผู้นำ คณะก้าวหน้า ในหมู่ชาวต่างประเทศต่างๆ นิยมเรียกขานพระองค์ว่า “ คิงส์มงกุฎ” พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงไว้ซึ่งทศพิธราชธรรม ทรงบริหารแผ่นดิน บำเพ็ญพระราชกรณียกิจใหญ่น้อย ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้า เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติเป็นล้นพ้น อาทิเช่น
ทรงเปิดสัมพันธภาพทางการทูตกับต่างประเทศ นับว่าในรัชสมัยของพระองค์ ประเทศไทยได้ เป็นไมตรีกับประเทศที่สำคัญในทวีปยุโรปและอเมริกาเกือบทั้งหมด โปรดเกล้าฯให้แก้ไขหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีและการค้า ให้ความสะดวกทางการค้าแก่ชาวต่างประเทศมากขึ้นกว่าเดิม ทรงให้ยกเลิกค่าธรรมเนียมปากเรือ โดยให้เสียภาษีขาเข้าและขาออกแทน โปรดเกล้าฯ ให้นำข้าวสารไปขายยังต่างประเทศได้
โปรดเกล้าฯ ใช้ธรรมเนียมจับมืออย่างชาติตะวันตก ทรงเริ่มใช้ธรรมเนียมฝรั่ง โดยพระราชทานพระหัตถ์ให้แก่ผู้มาเข้าเฝ้าจับเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2409 และถือเป็นขนบธรรมเนียมสืบเนื่องใช้มาจนทุกวันนี้
ทรงยกเลิกประเพณีให้ชาวต่างประเทศหมอบคลาน โปรดเกล้าฯให้ชาวต่างประเทศยืนเฝ้าฯ ได้ในท้องพระโรงและมีพระบรมราชานุญาตให้ดื่มเครื่องดื่ม และสูบบุหรี่ได้ต่อหน้าพระพักตร์ระหว่างปฏิสันถาร
โปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชการไทยสวมเสื้อเวลาเข้าเฝ้าตามแบบอารยธรรมตะวันตก โปรดฯให้วังเจ้านาย สถานที่ราชการของไทยชักธงประจำตำแหน่งแบบกงสุลต่างประเทศ เมื่อทรงทราบว่าพระมหากษัตริย์ชาวยุโรปมีประเพณีประดับเครื่องหมายแสดงพระเกียรติยศที่ฉลองพระองค์ จึงโปรดให้ทำเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สร้างเครื่องหมายแทนองค์พระมหากษัตริย์
โดยทรงบัญญัติศัพท์ว่า “ ดารา” แทนคำว่า Star และยังคงใช้คำนี้ในการเรียกส่วนประกอบของเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับชั้น 2 ขึ้นไปจนถึงชั้นสายสะพายมาจนถึงปัจจุบันนี้ ทรงศึกษาภาษาอังกฤษกับ ดร. คาสเวลล์ (Caswell) หมอบลัดเล (Bradley) และหมอเฮาซ์ (House) นอกจากภาษาอังกฤษแล้วยังทรงศึกษาภาษาลาตินกับ สังฆราช พัลลกัวร์(Pallegoix) และทรงศึกษาภาษาฝรั่งเศส บาลี สันสกฤต และภาษามอญ ทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งประเทศตะวันออกพระองค์แรกที่ทรงรู้ภาษาอังกฤษ ทรงใช้ภาษาอังกฤษศึกษาคณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ และวิทยาการแขนงอื่นๆ อีกทั้งทรงส่งเสริมให้พระราชโอรส พระราชธิดา เจ้านายฝ่ายหน้าและฝ่ายใน เรียนภาษาอังกฤษ
ด้านการเมืองการปกครอง
โปรดเกล้าฯให้ยกเลิกประเพณีบังคับราษฎรให้ปิดประตูหน้าต่างบ้าน เวลาพระเจ้าแผ่นดินเสด็จฯ ผ่าน ทรงยกเลิกประเพณีห้ามมองห้ามดูพระเจ้าแผ่นดิน
โปรดเกล้าฯ ให้ราษฎรเข้าเฝ้าได้ในทางเสด็จพระราชดำเนิน ทรงกำหนดวันเวลาขึ้นให้ราษฎรเข้าเฝ้าถวายฎีกากับพระองค์เอง
โปรดเกล้าฯ ให้มีการเลือกสรรข้าราชการตุลาการชั้นสูง
โปรดให้ส่งชื่อเพื่อคัดเลือกแทนการประกาศแต่งตั้งจากพระองค์
โปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์หนังสือราชกิจจานุเบกษาตีพิมพ์ข่าวราชการจาก ท้องตรา และหมายที่ออกประกาศไป รวมเป็นเล่มแจกผู้ที่เกี่ยวข้องกับราชการ อ่านให้เข้าใจในคำสั่งราชการ
ทรงแนะนำให้ราษฎรทำนาตามช่วงเวลาที่กำหนดให้ซึ่งเป็นการส่งเสริมการเกษตรแก่ราษฎร ทรงประกาศตักเตือนราษฎรให้รอบคอบในการทำนิติกรรม ซึ่งต้องลงชื่อทำสัญญาต่างๆ เช่น กรมธรรม์ขายตัวเป็นทาส ขายหรือจำนองที่ดิน
โปรดให้ร่างประกาศเกี่ยวกับทาสว่า เจ้าของทาสต้องยอมรับเงินจากทาสที่ต้องการไถ่ถอนตัวเองเป็นอิสระ ทรงตราพระราชบัญญัติทรัพย์สินเดิมและสินสมรส และทรงประกาศใช้พระราชบัญญัติ ลักพา ซึ่งควรถือว่าเป็นเอกสารเชิดชูสิทธิสตรีฉบับแรกของไทย ทรงประกาศให้นางใน กราบถวายบังคมลาออกไปมีสามีข้างนอกได้ ยกเว้นแต่นางในที่เป็นเจ้าจอมมารดาที่มีพระราชโอรส พระราชธิดา
ทรงยอมลดพระราชอำนาจที่เป็นสิทธิ์ขาดของพระมหากษัตริย์ไม่ทรงถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นเจ้าของที่ดินในพระราชอาณาจักรแต่ผู้เดียว โปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาที่ดิน ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่เสวยน้ำพระพิพัฒนสัตยา โดยทรงตั้งสัจจะว่าจะทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจให้เป็นประโยชน์แก่ประชาชาติ
ด้านการศาสนา ขณะทรงผนวชอยู่ทรงตั้งลัทธิสมณวงศ์ใหม่เรียกว่า “ ธรรมยุติกนิกาย” ให้ถือปฏิบัติเอาแต่สิ่งที่ถูกตามพระธรรมวินัย นิกายธรรมยุติตั้งขึ้นมาเพื่อปฏิรูปพระพุทธศาสนา ฟื้นฟูด้านวัตรปฏิบัติของสงฆ์ ทรงริเริ่มวางระเบียบแบบแผนดังนี้ ทรงปฏิรูปการเทศน์และการอธิบายธรรม ทรงเพิ่มบทสวดมนต์ภาษาไทย ทรงกำหนดวันมาฆบูชาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ทรงแก้ไขการรับผ้ากฐินให้ถูกต้องตามพุทธบัญญัติ ทรงแก้ไขการขอบรรพชาและการสวดกรรมวาจาในการอุปสมบท ทรงวางระเบียบการครองผ้าของภิกษุสามเณรให้ปฏิบัติตามหลักเสริยวัตรในพระวินัย ทรงเห็นความสำคัญในการศึกษาหาความรู้สาขาอื่นๆของพระสงฆ์ ทรงอนุญาตให้พระสงฆ์เข้าศึกษาภาษาอังกฤษกับหมอแคสเวล ทำให้มีการสืบสานการเข้าศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมของพระสงฆ์มาจนถึงปัจจุบัน
พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนน ทั้งในเขตพระนครและตามหัวเมืองต่างๆ เพื่อใช้ในการเดินทางและขนส่งสินค้า ถนนที่ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นคือ ถนนเจริญกรุง ถนนจำรุงเมือง ถนนเฟื่องนคร และถนนพระราม 4 นอกจากสร้างถนนยังโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลอง เพื่อใช้ในการสัญจรของราษฎร ทำให้การคมนาคมสะดวก มีการติดต่อค้าขายกันมากขึ้น เมื่อมีการติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติ การแลกเปลี่ยนเงินตรากันเป็นเรื่องจำเป็น เงินพดด้วงที่ใช้กันอยู่ไม่เพียงพอ จึงทรงโปรดเกล้าฯให้เปลี่ยนการใช้เงินพดด้วงเป็นเงินเหรียญที่ผลิตด้วยครื่องจักรและ โปรดเกล้าฯให้ตั้งโรงกษาปณ์ แห่งแรกในประเทศไทย
ด้านการทหาร ทรงโปรดเกล้าฯให้ฝึกหัดทหารตามแบบชาวยุโรป โปรดเกล้าฯให้สร้างเรือใบ เรือกลไฟ ให้เป็นเรือรบเรือลาดตระเวน ไว้สำหรับป้องกันประเทศ
ในสมัยนี้การก่อสร้างถาวรวัตถุต่างๆซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างที่งดงามแปลกตาเพราะเป็นสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างตะวันตกกับตะวันออก ด้านจิตรกรรมนั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้เขียนภาพฝาผนังที่พระอุโบสถและพระวิหาร จิตรกรคนสำคัญในสมัยของพระองค์คือขรัวอินโข่งที่ริเริ่มเขียนภาพแบบฝรั่งและภาพแบบสามมิติ ส่วนปฏิมากรรมทรงโปรดเกล้าฯใหเหล่อพระพุทธรูปและจำลองพระพุทธรูปเพื่อพระราชทานไปยังพระอาราม
วรรณคดีในสมัยนั้นยังมีความรุ่งเรืองด้วยที่พระองค์ทรงเป็นนักการศึกษาจึง พระราชนิพนธ์ไว้เป็นจำนวนมากมีทั้งทางโลกและทางธรรม บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอนพระรามเดินดง ซึ่งพระราชนิพนธ์เป็นบทละครในแสดงให้เห็นว่าพระองค์พระราชนิพนธ์กลอนบทนิพนธ์ได้เป็นอย่างดี
ศาสตร์อีกแขนงหนึ่งที่พระองค์ทรงรอบรู้และเชี่ยวชาญคือ โหราศาสตร์พระองค์ทรงพยากรณ์ทำนายดวงชะตาได้แม่นยำ หาผู้ใดเสมอเหมือนได้ยาก ดังมีตัวอย่างคาถาพระราชทานพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระองค์ ทรงพระราชนิพนธ์ตำราตรีภพ ใช้ทำนายโชคชะตาราศี ซึ่งโหรหลวงและนักโหราศาสตร์ใช้เป็นหลักในการพยากรณ์จนถึงทุกวันนี้
พระปรีชาญาณของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีความรอบรู้และ เชี่ยวชาญในศาสตร์หลายแขนง ไม่เว้นแม้แต่วิทยาศาสตร์อันเป็นศาสตร์สมัยใหม่ในเวลานั้น ทรงสนพระทัยในวิชาวิทยาศาสตร์มากโดยเฉพาะดาราศาสตร์ จนพระองค์ได้รับการยกย่องจากวงการวิทยาศาสตร์ไทยว่าเป็น พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย กล่าวกันว่าพระองค์ทรงสนพระทัยเรื่องดาวหาง และทรงประกาศมิให้ราษฎรของพระองค์หลงเชื่อในความเล่าลือต่างๆ ให้เห็นเป็นเรื่องของปรากฏการณ์ธรรมชาติ
พระองค์ทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาว่าจะเกิดในวันที่ 18 สิงหาคม 2411 ซึ่งเป็นจริงตามที่พระองค์ทรงคำนวณ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประชวรไข้ระหว่างเสด็จพระราชดำเนินกลับ
จากการทอดพระเนตรสุริยุปราคา ทรงประชวรหนักและเสด็จสวรรคตในวันพฤหัสบดี เดือน 11 ขึ้น 15 ค่ำ ตรงกับวันที่ 1ตุลาคม พ.ศ. 2411ดำรงราชสมบัติ 17 พรรษา


ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน


ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ

ข้าพพุทธเจ้า

ด.ญ.กมลมาศ ดาวคะนอง

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1

โรงเรียนเมืองเชลียง

อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย

เขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัยเขต 2